นอนค้างคืนในป่ากุยบุรี ซาฟารีเมืองไทย

“ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ การปฏิบัติคือให้ไปสร้างอาหารช้างในป่าเป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย กรณีช้างป่าออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อการจัดการความขัดแย้งคนกับช้างป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี กว่าจะเป็นกุยบุรี ในอดีตเดิมทีบนพื้นที่แห่งนี้ มีข่าวการขัดแย้งกันระหว่างคนกับช้างเกิดขึ้นบ่อยๆ ช้างถูกล่าเอางา ถูกยิง ถูกวางยา ไฟช็อตล้มลงหลายต่อหลายครั้ง บางครั้งก็เป็นชาวบ้านเองที่ถูกช้างป่าทำร้าย เนื่องจากปัญหาของพื้นที่อยู่อาศัยของช้างกุยบุรีลดน้อยลง ถูกถางและบุกรุกเป็นพื้นที่เกษตร เป็นเหตุที่ทำให้ช้างออกมาหากินและทำลายพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านจนเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์มาตลอด หลังจากนั้น “โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยเน้นไปที่การฟื้นฟูพื้นที่โดยรอบอุทยานที่เคยเป็นพื้นที่การเกษตร ปลูกพืชซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ป่าทดแทน และสร้างแหล่งน้ำโป่งเทียม ทำให้สัตว์ป่าไม่ออกไปรบกวนพื้นที่ของชาวบ้าน นับแต่นั้นความขัดแย้งกระทบกระทั่งระหว่างคนกับช้างจึงลดลง และนำไปสู่กำเนิดอาชีพใหม่ที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน นั่นคือการพานักท่องเที่ยวนั่งรถไปดูช้างป่าและกระทิงแห่งกุยบุรีนั่นเอง เตรียมความพร้อม สำหรับการเข้าไปเยี่ยมชมช้างป่ากุยบุรี นักท่องเที่ยวต้องมาติดต่อที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ชำระค่าเข้าอุทยานก่อนคนล่ะ 40 บาท ไม่สามารถขับรถเข้าไปชมได้ด้วยตนเอง(ในสมัยก่อนสามารถทำได้ครับ) จะมีรถและไกด์ชุมชนของชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีนำพวกเราเข้าไปราคาเหมาคันล่ะ 850 บาทขึ้นได้ประมาณ 8 ท่านต่อ 1 คัน เริ่มเปิดให้ชมตั้งแต่ช่วง 14:00-18:30 การเตรียมความพร้อมและการแต่งการ ควรทานอาหารให้เรียบร้อย และพกหมวกไปด้วยครับ เนื่องจากเราต้องอยู่กลางแจ้งแทบจะตลอดเวลาที่ชม ถ้าให้ดีควรแต่งกายในโทนสีเอิร์ธโทน (น้ำตาล […]