บ้านกร่างแคมป์ เมืองหลวงของนักดูนก

“การดูนก คือจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ “ ประเทศไทยมีนกกว่า 1,078 ชนิด ทั้งนกประจำถิ่น,นกอพยพ แต่ที่บ้านกร่างแคมป์ที่เดียวเราสามารถพบนกได้กว่า 400 ชนิด และพบกว่า 545ชนิดในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ซึ่งถือว่าเกินครึ่งนึงของนกที่พบในประเทศไทย ฉะนั้นไม่แปลกใจเลยที่นักดูนกทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ถึงได้เรียกที่นี่ว่าเป็นเมืองหลวงของนักดูนก บ้านกร่างแคมป์ตั้งอยู่นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี แคมป์นี้ตั้งอยู่ใจกลางป่าห่างจากที่ทำการอุทยาน 30 กม. หลายคนอาจได้ยินชื่อนี้จากภาพฝูงผีเสื้อที่บินกันเป็นร้อยเป็นพันๆ ตัว ตามที่หลายๆเพจท่องเที่ยวชอบไปถ่ายรูปกัน แต่อีกมุมนึงสถานที่นี้เป็นที่อยู่ของนกหลากหลายสายพันธุ์ ตั้งแต่นกที่เราเห็นหน้าบ้านเราบ่อยๆ อย่างนกกางเขนบ้าน นกเขา นกปรอดไปจนถึงนกหายาก นกกะลิงเขียดหางหนาม ที่พบเจอได้ที่นี่ที่เดียวในโลก หากคุณเป็นคนรักนก บ้านกร่างแคมป์ควรอยู่ในลิสต์ของสถานที่ที่คุณต้องรักอย่างแน่นอน ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก บ้านกร่างแคมป์มีพื้นที่สำหรับตั้งแคมป์ 2 ลานใหญ่ๆ เราเรียกกันว่าลานล่าง และลานบน ลานล่างจะร่มรื่นกว่ามีต้นไม่ใหญ่ปกคลุม ส่วนลานบนจะเป็นที่โล่งแจ้ง อากาศค่อนข้างร้อนในตอนกลางวัน แต่ก็แลกกับการที่จะได้เห็นวิวภูเขาสวยๆ ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก บ้านกร่างมีอาคารพักและห้องน้ำสะอาดที่ค่อนข้างสะอาด (ใจดีแถมตุ๊กแกให้ห้องละตัว) นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารที่ขายอาหาร เครื่องดื่ม ราคาไม่แพงพร้อมของที่ระลึกให้บริการนักท่องเที่ยว ดูนก หากคุณยังมือใหม่กับการดูนก ไม่ต้องกังวล บ้านกร่างแคมป์เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมากๆ ที่นี่มีนักดูนกมากมายมากประสบการณ์ ซึ่งสามารถช่วยคุณระบุสายพันธุ์ต่างๆ และสอนคุณเกี่ยวกับพฤติกรรมและนิสัยของพวกมัน […]
นอนค้างคืนในป่ากุยบุรี ซาฟารีเมืองไทย

“ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ การปฏิบัติคือให้ไปสร้างอาหารช้างในป่าเป็นแปลงเล็กๆ และกระจาย กรณีช้างป่าออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า” พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อการจัดการความขัดแย้งคนกับช้างป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรี กว่าจะเป็นกุยบุรี ในอดีตเดิมทีบนพื้นที่แห่งนี้ มีข่าวการขัดแย้งกันระหว่างคนกับช้างเกิดขึ้นบ่อยๆ ช้างถูกล่าเอางา ถูกยิง ถูกวางยา ไฟช็อตล้มลงหลายต่อหลายครั้ง บางครั้งก็เป็นชาวบ้านเองที่ถูกช้างป่าทำร้าย เนื่องจากปัญหาของพื้นที่อยู่อาศัยของช้างกุยบุรีลดน้อยลง ถูกถางและบุกรุกเป็นพื้นที่เกษตร เป็นเหตุที่ทำให้ช้างออกมาหากินและทำลายพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้านจนเป็นข่าวบนหน้าหนังสือพิมพ์มาตลอด หลังจากนั้น “โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า บริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยเน้นไปที่การฟื้นฟูพื้นที่โดยรอบอุทยานที่เคยเป็นพื้นที่การเกษตร ปลูกพืชซึ่งเป็นอาหารของสัตว์ป่าทดแทน และสร้างแหล่งน้ำโป่งเทียม ทำให้สัตว์ป่าไม่ออกไปรบกวนพื้นที่ของชาวบ้าน นับแต่นั้นความขัดแย้งกระทบกระทั่งระหว่างคนกับช้างจึงลดลง และนำไปสู่กำเนิดอาชีพใหม่ที่สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน นั่นคือการพานักท่องเที่ยวนั่งรถไปดูช้างป่าและกระทิงแห่งกุยบุรีนั่นเอง เตรียมความพร้อม สำหรับการเข้าไปเยี่ยมชมช้างป่ากุยบุรี นักท่องเที่ยวต้องมาติดต่อที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ชำระค่าเข้าอุทยานก่อนคนล่ะ 40 บาท ไม่สามารถขับรถเข้าไปชมได้ด้วยตนเอง(ในสมัยก่อนสามารถทำได้ครับ) จะมีรถและไกด์ชุมชนของชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรีนำพวกเราเข้าไปราคาเหมาคันล่ะ 850 บาทขึ้นได้ประมาณ 8 ท่านต่อ 1 คัน เริ่มเปิดให้ชมตั้งแต่ช่วง 14:00-18:30 การเตรียมความพร้อมและการแต่งการ ควรทานอาหารให้เรียบร้อย และพกหมวกไปด้วยครับ เนื่องจากเราต้องอยู่กลางแจ้งแทบจะตลอดเวลาที่ชม ถ้าให้ดีควรแต่งกายในโทนสีเอิร์ธโทน (น้ำตาล […]
ทุ่งกะมัง แดนสวรรค์ของสัตว์ป่า

“ทุ่งกะมัง แดนสวรรค์ของสัตว์ป่า” คำพูดติกปากของเหล่าช่างภาพ wildlife และบรรดานักอนุรักษ์ ที่ว่าไปก็ไม่เกินจริงไปนัก ในที่นี้เราสามารถพบเนื้อทราย สัตว์ป่าที่เคยเกือบสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย ไก่ฟ้าพญาลอ เก้ง,กวาง และนกอีกมากมายหลากหลายชนิด ซึ่งสัตว์ป่าที่นี่ไม่ค่อยตื่นกลัวคนซักเท่าไหร่ซึ่งเป็นเรื่องดีนะที่ทำให้เราคนธรรมดาๆ ทั่วๆไปจะได้เห็นโลกเห็นพฤติกรรมของสัตว์ป่าอย่างใกล้ชิด การเดินทาง ทุ่งกระมังตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียวจังหวัดชัยภูมิ ใช้เวลาขับรถจากกทม. ระยะทางจากกรุงเทพประมาณ 500 กม. แต่ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 7-8 ชม. ที่นี่รถยนต์สามารถเข้าได้นะครับ แต่ไม่ค่อยแนะนำเนื่องจากช่วงถนนจากหน้าด่านเขตรักษาพันธ์ฯ เข้ามาถึงทุ่งกระมัง ถึงแม้จะเป็นถนนลาดยางตลอดแต่ถนนค่อนข้างแคบและเป็นหลุมเป็นบ่อใหญ่ๆ ขนาดรถกะบะยกสูงยังค่อยๆคลาน ขับสะเทือนนั่งหัวโยกกันเกือบ ชม. บริเวณทางเข้า-ด่านเก็บเงินเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียว เราจะพบรูปปั้นครอบครัวกระซู่ 3ตัว กระซู่เป็นหนึ่งในสัตว์ป่าที่สูญพันธุ์ไปจากบ้านเราเรียบร้อยแล้ว แม้จะมีข่าวลือว่าเจอร่องร่อยเจอมูลที่ป่าภูเขียวแห่งนี้ แต่ก็ไม่พบหลักฐานยืนยันอย่างเป็นทางการ และในทั่วโลกมีเหลือไม่ถึง 100 ตัว ก็ถือเป็นเรื่องน่าเสียดาย ถ้าพวกเราเห็นถึงความสำคัญของเจ้ากระซู่ได้เร็วกว่านี้ ป่านนี้คงมีหลงเหลืออยู่ในธรรมชาติบ้าง สิ่งอำนวยความสะดวก ทุ่งกะมังมีบ้านพัก และร้านอาหารร้านค้าคอยบริการ สัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์มีให้ใช้จุดเดียว คือบริเวณที่ทำการ และน่าจะเป็นค่าย AIS ค่ายเดียวที่ใช้ได้ (ณ ปี2563)ห้องพักที่นี่อารมเหมือนค่ายลูกเสือห้องพักรวมสภาพเก่านิดนึง ไม่มีไฟฟ้า และประปา มีเพียงแสงไฟจากโซลาร์เซลในช่วงหัวค่ำ และน้ำบาดาลฉะนั้นคนที่เข้ามาพักที่นี่ต้องสำรวจตัวเองนิดนึงนะครับ […]
ภูกระดึง ปฐมบทของนักเดินป่า

ที่ภูกระดึงเปิดให้เข้าเที่ยวชมเฉพาะในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษาคมเท่านั้น แค่ 7 เดือนนี้ เราก็ได้เห็นภูกระดึงครบทั้ง 3 ฤดูแล้วครับ ช่วง ตค.-พย ยังอยู่ในช่วงหน้าฝน เดือน ธันวา-มกราจะเริ่มเข้าหน้าหนาวเดินง่ายไม่ค่อยมีทาก อากาศหนาวมาก คนค่อนข้างเยอะส่วนใหญ่ไปดูใบเมเปิ้ลสีแดงๆ หลังกุมพาจะเริ่มเข้าหน้าร้อนใบไม้เปลี่ยนสีทางเดินจะแห้งๆ ใบไม้สีทองแต่อากาศยังเย็นๆ อยู่เมื่อหมดแดด ซึ่งในครั้งนี้ผมจะมาเล่าถึงการไปภูกระดึงในหน้าฝน ที่ว่ากันว่าเดินยากสุด โหดสุด เต็มไปด้วยทาก แต่ก็แรกมากับอะไรบางอย่างจะเป็นอย่างไรไปดูกันครับ ร่างกาย แน่นอนการเดินทางขึ้นภูกระดึงต้องเดินเท้าเท่านั้นด้วยความสูงกว่า 1200 เมตร ในวันแรกต้องเดินขั้นต่ำ 9 กม.กว่าจะถึงบ้านพัก/ลานกางเต็นท์ ถามว่าจำเป็นต้องออกกำลังกายก่อนไปไหม จริงๆก็ไม่ มีหลายคนที่จู่ๆ เพื่อนก็ลากตัวไปโดยที่ไม่ทันเตรียมตัว ก็เดินพรวดๆ ถึงยอดภูได้ แต่ถ้าออกกำลังกายไปก่อนก็ดีหลายคนที่ไม่เคยออกกำลังกายเลย( สังเกตุได้จากเพื่อนในกลุ่มที่ร่วมเดินทางไปด้วย ) มีสิทธิ์ไปเป็นตระคริวกลางทาง ปวดขา ปวดแข้ง เมื่อเดินถึงลานกางเต้นท์ ทำให้เที่ยวต่อไม่สนุก อย่างน้อยก็ squat อยู่บ้านขำๆล่วงหน้าซักเดือนก็ยังดี ส่วนตัวผมลองแล้ว squat ช่วยได้จริงๆ ไม่มีอาการปวดเมื่อยใดๆ เมื่อเดินถึงลานกางเต้นท์ในวันแรก สิ่งของ หลายคนบอกว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเงินนเตรียมไปเยอะๆ ข้างบนมีขายทุกอย่าง ไปตัวเปล่ายังได้เลย แต่สำหรับผมมองว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดเลยคือรองเท้าครับ แน่นอนการเดินทางขึ้นภูมีแต่เดินกับเดิน […]